top of page
ค้นหา
jorgegmolinos

“ณ ไล่โว่” เปิดตัวโครงการ RISE ร่วมกับองค์กรและกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ตำบลไล่โว่

โดย ดร.ปัทมาภรณ์ จุมปา ทีมวิจัยประเทศไทย


โครงการ RISE มีเป้าหมายเพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ไปจนถึงทุนทางธรรมชาติ ที่สนับสนุนระบบนิเวศสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ (Indigenous Socioecological Systems: ISS) เราจึงให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา ระหว่างวันที่ 13-19 ธันวาคมที่ผ่านมา โครงการฯ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและเปิดโครงการฯ ณ พรไพลิน ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี


วันที่ 14 ธันวาคม 2564 - ส่วนราชการ ผู้แทนหมู่บ้านในตำบลไล่โว่ และคณะทำงานจากชุมชนที่ร่วมศึกษา (หมู่บ้านสะเนพ่อง และหมู่บ้านเกาะสะเดิ่ง) รวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมเปิดตัวโครงการฯ เราได้นำเสนอผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ และในทุกสิ่งมีชีวิต ทีมวิจัยประเทศไทย นำโดย รศ.ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ (เข้าร่วมออนไลน์) ได้ชี้แจงเป้าหมายโครงการและแนวทางที่จะดำเนินการในอีก 3 ปีข้างหน้า เรายังแนะนำทีมงานจากทั้งประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ที่ไม่สามารถมาพบปะได้ด้วยตนเอง เนื่องจากข้อจำกัดการเดินทางของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และได้เปิดคลิปวิดีโอของพื้นที่ศึกษาในประเทศรัสเซีย ซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก โดยมี รศ.ดร. โสฬส ศิริใสย์ และ ดร.กฤษฎา บุญชัย ดำเนินการสนทนากลุ่ม ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและนักวิจัยได้มีโอกาสหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทีมวิจัยชุมชนของโครงการอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น


ส่วนหนึ่งของการเปิดโครงการวิจัย 'ลุงจี' ปราชญ์ชาวบ้านหมู่บ้านสะเนพ่อง ได้เล่นดนตรีด้วยเครื่องดนตรี ที่เรียกว่า "นาเด่ง ทุนุ" พิณพื้นบ้านหัวนกเงือก การแสดงนี้สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ผ่อนคลาย และเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงให้กับพวกเรา (คนนอกชุมชนและนักวิจัย)




นอกเหนือจากการชี้แจงโครงการ สร้างความเข้าใจร่วมกัน และทำความรู้จักกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่แล้ว นี่เป็นกระบวนการสร้างความคุ้นเคยและความเข้าใจระหว่างสมาชิกในทีมที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่แตกต่างกันอย่างมาก การสร้างความเข้าใจแบบสหวิทยาการเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญในการสร้างความมั่นใจว่าโครงการจะดำเนินไปอย่างราบรื่นทุกเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันที่เรียกว่า “การถอดบทเรียน” เพื่อเรียนรู้สิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วและมีอะไรที่ต้องแก้ไขโดยด่วน มีข้อเสนอแนะเพื่อให้เราสามารถวางแผนสำหรับกิจกรรมในวันถัดไป



วันที่ 15 - 18 ธันวาคม 2564 - มีการนำเสนอแผนงานของโครงการ 3 ส่วน ครอบคลุมใน 4 วันนี้


แผนงานที่ 1 (work plan 1: WP1) อบรมผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่เพื่อใช้แบบสอบถามทางเศรษฐกิจและสังคมคุณประภา คงปัญญา และ ดร.ปัทมาภรณ์ จุมปา ผู้รับผิดชอบการพัฒนาแบบสอบถามร่วมกับทีมวิจัยชาวญี่ปุ่น อธิบายวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลภายใต้แผนงานที่ 1 โดยใช้แบบสอบถามและวิธีการกรอกแบบสอบถาม หลังจากฝึกสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกับคู่ของตน ผู้เข้าร่วมได้หารือกับนักวิจัยเกี่ยวกับอุปสรรคในการสัมภาษณ์คนในชุมชนในสถานการณ์จริง เพื่อปรับแบบสอบถามให้เหมาะกับบริบทของชุมชน นอกจากนี้ นักวิจัยได้สอบถามเกี่ยวกับข้อจำกัดตามบริบทของชุมชนเพื่อออกแบบร่วมกับผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่ ในการลงพื้นที่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดในช่วงเวลาที่ดำเนินการ




แผนงานที่ 2 (work plan 2: WP2) อธิบายขั้นตอนการเก็บข้อมูลการประเมินภาวะโภชนาการ ดร.สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์ ผู้รับผิดชอบหลักงานในแผนงานที่ 2 ของประเทศไทย ได้อธิบายวิธีการประเมินภาวะโภชนาการ และขั้นตอนการเก็บข้อมูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่ 2 และหารือร่วมกับผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่ เพื่อร่วมกันออกแบบการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง สิ่งนี้จำเป็นเนื่องจากการสอบถามความถี่การบริโภคอาหารของอาหารท้องถิ่นตามฤดูกาลนั้น ต้องการรายการอาหารตามธรรมชาติ (เช่น พืชและสัตว์) ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูกาลนั้น ๆ




แผนงานที่ 3 (work plan 3: WP3) อบรมผู้ช่วยวิจัยท้องถิ่นในการรวบรวมข้อมูลการกระจายพันธุ์อาหาร คุณสินี โชติบริบูรณ์ และคุณศศสรวง จรัสสกุลชัย ประสานงานกับทีมวิจัยประเทศญี่ปุ่น เพื่ออธิบายงานส่วนนี้ให้กับผู้ช่วยวิจัยในพื้นที่ที่อาสาช่วยเก็บข้อมูล ในการเก็บข้อมูลการกระจายพันธุ์ของอาหารดั้งเดิม อาสาสมัครได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ GPS ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบันทึกและรายงานตำแหน่งของอาหารบางชนิด ได้แก่ พืชหรือผลไม้ และสัตว์ขนาดเล็ก (เช่น ปลา หอย และแมลง) ซึ่งจะถูกจะเก็บข้อมูลระหว่างการดำเนินชีวิต การทำมาหากินตามปกติ ข้อมูลนี้จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติสำหรับการคาดการณ์การกระจายพันธุ์อาหารดั้งเดิมเหล่านี้ในภายหลัง



กิจกรรมที่วางแผนไว้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งมาจากการประสานงานที่มีประสิทธิภาพของ คุณจรณะ ทรัพย์สุวรรณ ที่ช่วยประสานงานและจัดระบบงาน รวมทั้งติดต่อกับหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชุมชน นอกจากนี้ คุณณัฐพัชร์ ทองคำ ได้ร่วมสังเกตการณ์ รวบรวมความคิดเห็นและประเด็นที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน เพื่อให้ทีมไทยนำบทเรียนที่ได้จากโครงการวิจัยมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผล ตลอดจนความรู้ที่ชัดเจนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยในสาขานี้ต่อไป


ทีมวิจัยประเทศไทยหวังว่า กิจกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัย ชุมชน และองค์กรภาครัฐ เพื่อบรรลุเป้าหมายโครงการ ทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องที่ซับซ้อนระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และระบบอาหารแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการออกแบบกลยุทธ์การปรับตัวและความยั่งยืนของระบบนิเวศสังคมกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อไป




ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page