โครงการ RISE ประกอบด้วยนักวิจัยจาก 3 ประเทศ (ประเทศไทย รัสเซีย และ ญี่ปุ่น) และสถาบันหลายแห่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจสังคม มานุษยวิทยา และทางด้านโภชนาการ ร่วมด้วยทีมทำงานในพื้นที่จากชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นตัวแทนจากพื้นที่กรณีศึกษาของเรา ตลอดจนหน่วยงานท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โครงการแบ่งออกเป็นแผนงาน (Work Packages: WPs) ต่าง ๆ ครอบคลุมในหลายมิติ การศึกษาของโครงการประกอบด้วย แผนงานที่ 1 (WP1) การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคมของระบบอาหารดั้งเดิม แผนงานที่ 2 (WP2) การวิเคราะห์ทางโภชนาการของระบบอาหารดั้งเดิม แผนงานที่ 3 (WP3) การวิเคราะห์ทางนิเวศวิทยาของระบบอาหารดั้งเดิม และการคาดการณ์ของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในการกระจายพันธุ์อาหารท้องถิ่น แผนงานที่ 4 (WP4) การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการปรับตัว และแผนงานที่ 5 (WP5) การจัดการโครงการและการเผยแพร่ผลงานจากโครงการ ซึ่งคุณสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของโครงการ วิธีการศึกษา และที่มาของแผนการดำเนินการวิจัย จากส่วน "ผลลัพธ์" คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของแต่ละทีม ได้จากแผนภาพด้างล่างนี้
วัตถุประสงค์หลักของโครงการ RISE คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เพื่อก่อประโยชน์ต่อชุมชนเหล่านี้ ระบุ และจัดการเกี่ยวกับข้อสงสัยที่มีอยู่ และตั้งเวทีอภิปรายในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องความยั่งยืนและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านมุมมองความมั่นคงด้านอาหารและผู้มีอำนาจอธิปไตยในการทำเช่นนั้น
ในการดำเนินการดังกล่าว การมีส่วนร่วมของทีมทำงานในพื้นที่ (นักวิจัยชุมชน) ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำความรู้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ความกระตือรือร้น และความเคารพต่อธรรมชาติของพวกเขา ถือเป็นจุดสำคัญในการขับเคลื่อนงานในครั้งนี้
ของเรา
โครงการ
ทีมไทย
เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพจากสถาบันวิจัย 2 แห่ง (มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันท้องถิ่นพัฒนา) ทำงานร่วมกับชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษาตั้งแต่กำเนิด (นักวิจัยชุมชน) คณะวิจัยจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมในการวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของคนในพื้นที่และวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารท้องถิ่น ในพื้นที่กรณีศึกษา ทั้ง 2 พื้นที่ คือ ประเทศไทย และรัสเซีย (แผนงานที่ 2) สมาชิกภายในทีมวิจัยอีกส่วนหนึ่ง ได้ใช้หลักการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม เพื่อทำความเข้าใจการรับรู้ของชุมชนกะเหรี่ยงเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันต่อระบบนิเวศสังคมในท้องถิ่น โดยเน้นการประเมินความสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และการตอบสนองในรูปแบบการปรับตัวของชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่ 1 นอกจากนี้ สมาชิกบางส่วนในทีมไทยได้ช่วยประสานงานกับทีมทำงานในพื้นที่ (นักวิจัยชุมชน) เพื่อช่วยทีมญี่ปุ่นในการรวบรวมข้อมูลการมีอยู่ของชนิดพันธุ์อาหารในท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำแบบจำลองทางสถิติเพื่อการทำนายการกระจายพันธุ์ของอาหารท้องถิ่นเหล่านั้น ซึ่งเป็นส่วนของแผนงานที่ 3
นอกจากนี้ โครงการได้ประสานความร่วมมือกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยแหล่งอาหารของชุมชนในพื้นที่ศึกษา และสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ในการช่วยจำแนกชนิดพันธุ์พืชท้องถิ่นด้วย
ทีมรัสเซีย
ทีมวิจัยประเทศรัสเซียประกอบด้วยองค์กรวิจัยหลัก 2 แห่ง ของสาธารณรัฐ Sakha (Yakutia) คือ the North-Eastern Federal University และ the Institute for Biological Problems of Cryolithozone (IBPC) กลุ่มวิจัยสหสาขาวิชาชีพประกอบด้วย นักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยอาวุโสที่มีประสบการณ์และผลงานตีพิมพ์มากมายซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการนี้ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในภูมิภาคอาร์กติก ด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และด้านการแพทย์ โดยหัวหน้าทีมวิจัย คือ Dr. Tuyara Gavrilyeva ซึ่งทำงานอย่างแข็งขันกับชุมชนพื้นเมือง Yakutia อันเป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาในโครงการ RISE
ทีมญี่ปุ่น
ทีมวิจัยประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยนักวิจัยจาก 2 สถาบัน ได้แก่ Hokkaido University และ The University of Tokyo ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยา และเศรษฐศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภายใต้การดูแลของ Dr. García Molinos (หัวหน้านักวิจัยของโครงการ RISE) ทีมญี่ปุ่นรับผิดชอบการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสังคมของกรณีศึกษาชาวกะเหรี่ยง (แผนงานที่ 1) การพัฒนาแบบจำลองเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงในอนาคตขององค์ประกอบและการมีอยู่ของอาหารแบบดั้งเดิม (แผนงานที่ 3) และจากการมีส่วนร่วมของทีมวิจัยแต่ละประเทศ ทีมญี่ปุ่นทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลภาคสนามและข้อมูลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายทั้งหมดเข้ากับกรอบการประเมินความเสี่ยงขั้นสุดท้าย (แผนงานที่ 4) และมี Ms. Yuka Shimbo เป็นผู้จัดการโครงการ ทำหน้าที่ประสานงาน จัดการภาพรวมของโครงการ ดูแลกลยุทธ์การเผยแพร่งานสำหรับโครงการทั้งหมด (แผนงานที่ 5)
ทีมทำงานในพื้นที่
เพื่อศึกษาและพัฒนาวิธีการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน เราถือว่าการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโครงการนี้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ต่าง ๆ ในช่วงปีแรกของโครงการ ให้กับชุมชนชาวกะเหรี่ยงสองแห่งที่ตอบรับให้โครงการเข้าไปทำวิจัย และเราได้เชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในโครงการ โดยทีมทำงานในพื้นที่ได้รับการฝึกอบรมจากทีมวิจัยของเราเกี่ยวกับเทคนิคการสุ่มตัวอย่างภาคสนามต่าง ๆ เช่น การสำรวจครัวเรือน และการรวบรวมข้อมูลชนิดอาหารที่มีในท้องถิ่นจากภาคสนาม
ทีมทำงานในพื้นที่ของเราประกอบด้วย กลุ่มคนหลายบทบาท ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน วัยทำงานซึ่งหาและเตรียมอาหารสำหรับครัวเรือน และคนรุ่นใหม่ที่สนใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนอย่างไร นอกเหนือจากการให้คำแนะนำและคำปรึกษาอันล้ำค่าแก่โครงการแล้ว พวกเขายังมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในการทำงานภาคสนามสำหรับ แผนงานที่ 1 และ 3 ด้วย
ภาพด้านล่างนี้ ทีมทำงานในพื้นที่ของโครงการบางส่วนได้เรียนรู้วิธีใช้อุปกรณ์ GPS เพื่อรวบรวมบันทึกสายพันธุ์อาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่จากภาคสนาม ข้อมูลที่ถูกบันทึกเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้ในภายหลังสำหรับแบบจำลองทางสถิติเพื่อการทำนายการกระจายพันธุ์อาหารในปัจจุบันและอนาคต (แผนงานที่ 3)
รายชื่อสมาชิก RISE
Name | Affiliation | Field | Role | Team |
---|---|---|---|---|
Dr. Jorge García Molinos | Arctic Research Center - Hokkaido University | Macroecology, climate change ecology | Lead Principal Investigator RISE project | Japan |
Dr. Tuyara Gavrilyeva | Institute of Engineering & Technology - North-Eastern Federal University | Rural economy and development | Principal Investigator | Russia |
Dr. Wantanee Kriengsinyos | Institute of Nutrition - Mahidol University | Nutritional Science | Principal Investigator | Thailand |
Dr. Pattamaporn Joompa | Institute of Nutrition - Mahidol University | Nutritional Science | Co-Principal Investigator | Thailand |
Dr. Daiju Narita | Graduate School of Arts and Sciences - Tokyo University | Environmental economics | Co-Principal Investigator | Japan |
Dr. Innokentiy Okhlopkov | Institute for Biological Problems of Cryolithozone (Director) | Natural resource management | Co-Investigator | Russia |
Dr. Sorot Sirasai | Mahidol University, Faculty of Liberal Arts | Anthropology | Co-Investigator | Thailand |
Dr. Daichi Yamada | Graduate School of Humanities and Social Sciences - Hiroshima University | Economics | Co-Investigator | Japan |
Dr. Marina Imanova | Institute of Finances and Economics - North-Eastern Federal University | Economic development | Co-Investigator | Russia |
Dr. Natalya Yakovleva | KEDGE Business School - Paris | Natural resources, sustainability | Co-Investigator | Russia |
Dr. Kritsada Boonchai | Local Development Institute | Natural resource management, sustainable development | Senior researcher | Thailand |
Dr. Sueppong Gowachirapant | Institute of Nutrition - Mahidol University | Senior researcher | Thailand | |
Dr. Stephen Chitengi Sakapaji, | Arctic Research Center - Hokkaido University | Social-ecological systems | Postdoctoral researcher | Japan |
Ms. Emi Soyama | Arctic Research Center - Hokkaido University | Administrative support | Project Manager | Japan |
Leonid Jojikov | Research Laboratory “Molecular Medicine and Human Genetics”, Medical Institute - North-Eastern Federal University | Space medicine | Co-Investigator | Russia |
Ms. Sinee Chotiboriboon | Institute of Nutrition - Mahidol University | Nutritional science, traditional food systems | Senior researcher | Thailand |
Ms. Prapa Kongpunya | Institute of Nutrition - Mahidol University | Senior researcher | Thailand | |
Ms. Charana Sapsuwan | Institute of Nutrition - Mahidol University | Senior researcher | Thailand | |
Ms. Varvara Parilova | Institute of Finances and Economics - North-Eastern Federal University | Social studies, International Politics and Arctic Governance | PhD candidate | Russia |
Mr. Vyacheslav Gabyshev | Institute for Biological Problems of Cryolithozone | Biology, Ecology | PhD candidate | Russia |
Mr. Shokhrukh Khasanov | Faculty of Economics - Hokkaido University | Economics | PhD candidate | Japan |
Ms. Nattapach Thongkam | Institute of Nutrition - Mahidol University | Independent researcher | Thailand |